The Catch-up Cycle

ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้แข็งแกร่งทั้งจาก Pent up demanddemandนโยบายการเงินและการคลังที่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจ ประกอบกับหลายประเทศเศรษฐกิจชั้นนาสามารถควบคุมการระบาดของ COVID 1919ได้ดีขึ้นจากการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน นับตั้งแต่ต้นปีสินค้าโภคภัณฑ์และ REITsREITsโลกสะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อที่กลับมาร้อนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้านหุ้นโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นนาโดยหุ้นยุโรปที่มีการฟื้นตัวได้แข็งแกร่งและฟื้นตัวได้ช้ากว่าฝั่งสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยหุ้นจีนในช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวลงจากความกังวลด้านนโยบายภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมธุรกิจในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางจีนที่ต้องการลดการก่อหนี้และควบคุมภาวะฟองสบู่ ขณะที่ตราสารหนี้และทองคาปรับตัวลดลงสวนทางกับสินทรัพย์อื่นๆ จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

INDEGO Market Outlook 2H 2021
Full PDF version

ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้แข็งแกร่งทั้งจาก Pent-up demand นโยบายการเงินและการคลังที่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจ ประกอบกับหลายประเทศเศรษฐกิจชั้นนำสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ดีขึ้นจากการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน นับตั้งแต่ต้นปีสินค้าโภคภัณฑ์และ REITs โลกสะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อที่กลับมาร้อนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้านหุ้นโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นนำโดยหุ้นยุโรปที่มีการฟื้นตัวได้แข็งแกร่งและฟื้นตัวได้ช้ากว่าฝั่งสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยหุ้นจีนใน
ช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวลงจากความกังวลด้านนโยบายภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมธุรกิจในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและการใช้นโยบายการเงิน
ที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางจีนที่ต้องการลดการก่อหนี้และควบคุมภาวะฟองสบู่ ขณะที่ตราสารหนี้และทองคำปรับตัวลดลงสวนทางกับสินทรัพย์อื่นๆ จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับมุมมองการลงทุนในครึ่งปีหลังเรามองว่าเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมจะมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ระดับการฟื้นตัวจะเริ่มมี
ความแตกต่างกันออกไปบ้าง ดังจะเห็นได้ว่า จีน เป็นประเทศที่ฟื้นตัวได้โดดเด่นไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปีก่อน สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ฟื้นตัวได้โดดเด่นในช่วงถัดมาในช่วงต้นปี และยุโรปก็เป็นภูมิภาคที่ฟื้นตัวได้ในช่วงถัดมา โดยเรามองว่ากลุ่มประเทศนอกสหรัฐฯ ที่ยังมีการฟื้นตัวได้ช้ากว่าจะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น ตลาดเกิดใหม่ และไทย ขณะที่ถ้ามองในเชิงของ
ภาคเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจในภาคบริการมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจภาคการผลิตที่ฟื้นตัวได้แข็งแกร่งไปแล้วในช่วงก่อนหน้าตามธีมการกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้อีกครั้ง (Reopening) ด้านหุ้นจีนที่ครึ่งปีนี้ให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าหุ้นโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวตามผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ขณะที่หุ้นเวียดนามยังมีความน่าสนใจจากทั้งการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งและระดับมูลค่าที่ยังไม่แพง

ทั้งนี้นโยบายการคลังจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งสะท้อนผ่านนโยบาย
การคลังของสหรัฐฯ และยุโรปที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราส่วนงบประมาณการขาดดุลทางการคลังต่อ GDP ของสหรัฐฯ มีมูลค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีการฟื้นตัวในอัตราเร่งมาแล้วในช่วงก่อนหน้า แต่ก็น่าจะยังมีการฟื้นตัวได้ต่อไปจากมาตรการกระตุ้นด้านการคลัง ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อม (Spillover effect) ไปยังเศรษฐกิจโลกในภูมิภาคอื่นๆ เช่นเดียวกับกรณีของยุโรป ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากแผน EU Recovery Plan จะเริ่มส่งผลให้เห็นในช่วงครึ่งปีหลัง ด้วยนโยบายการคลังมูลค่ามหาศาล นโยบายการกีดกันทางการค้า การปรับขึ้นอัตราภาษี และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เรามองว่าภาพของเงินเฟ้อน่าจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนการเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งจะทำให้สินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อยังคงมีความน่าสนใจไปต่อได้อีกระยะหนึ่งตามระดับของการเกิดภาวะ Mean Reversion จนเริ่มชะลอตัวลงและเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่บริษัทที่ยังมีปัจจัยพื้นฐานดี ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะบริษัทที่มีความสามารถในการปรับขึ้นราคา (Pricing Power) จะยังสามารถคงความสามารถในการทำกำไร และทนทานต่อภาวะเงินเฟ้อได้

แม้เศรษฐกิจโลกจะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ในครึ่งปีหลังนี้ก็มีประเด็นสำคัญที่ต้องระมัดระวังและอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม
การลงทุนได้ เริ่มตั้งแต่ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีแนวโน้มส่งสัญญาณการผ่อนคลายน้อยลงและเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในปีหน้า และอาจถูกดันให้เปลี่ยนทิศทางได้ไวขึ้นตามความร้อนแรงของเงินเฟ้อ รวมถึงนโยบายการปรับขึ้นภาษีของทางสหรัฐฯ ทั้งภาษีบุคคลธรรมดาส่วนเพิ่ม ภาษีนิติบุคคล ตลอดจนภาษีขั้นต่ำที่จะเรียกเก็บกับบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่นอกจากจีนแล้ว ทางสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มจะออกกฎหมายควบคุมอำนาจการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น และประเด็นทางด้านการระบาดของ COVID-19 ที่อาจกลับมาระบาดเพิ่มขึ้นจากทั้งเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่สามารถแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์อาจลดลง

  สำหรับมุมมองในครึ่งปีหลัง เราแนะนำให้ใช้กลยุทธ์การลงทุนผสมแบบยืดหยุ่น โดยจัดสรรพอร์ตการลงทุนออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินทรัพย์ Core Theme 30% เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในเทรนด์การลงทุนระยะยาวที่ยังดำเนินต่อไป
กลุ่มสินทรัพย์
Satellite 40% มีความยืดหยุ่นในการลงทุนระยะกลางให้สอดคล้องกับวัฏจักรและสภาวะตลาด และกลุ่มสินทรัพย์ Defensive 30% เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพและสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดี โดยอาจแบ่งออกมาเป็นตราสารทุน 65% ตราสารทางเลือก 25% และตราสารหนี้ 10%

  • SHARE
Contact
Contact