May the Fed be with You

เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังผันผวนแรงจากความกังวลที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไวขึ้นและจะเริ่มทยอยลดขนาดงบดุลเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเด็นดังกล่าวได้รับรู้และสะท้อนไปในราคาของตลาดหุ้นทั่วโลกระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังคงอยู่ในช่วงการปรับการคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 10-11 ครั้ง ภายในปีนี้สะท้อนว่า Fed จะต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% หรือมากกว่าในแต่ละรอบการประชุมถัดไป ซึ่งตลาดมองว่าประเด็นดังกล่าวมีแนวโน้มสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง และจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุม FOMC รอบเดือน พ.ค. นี้ ด้านตลาดหุ้นจีนผันผวนหนักจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดในจีนหลังจีนมีการใช้มาตรการ Zero-COVID และประกาศล็อกดาวน์เมืองเศรษฐกิจสำคัญ เช่น เมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองปักกิ่งบางส่วน

INDEGO Monthly Outlook May 2022

เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังผันผวนแรงจากความกังวลที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไวขึ้นและจะเริ่มทยอยลดขนาดงบดุลเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเด็นดังกล่าวได้รับรู้และสะท้อนไปในราคาของตลาดหุ้นทั่วโลกระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังคงอยู่ในช่วงการปรับการคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 10-11 ครั้ง ภายในปีนี้สะท้อนว่า Fed จะต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% หรือมากกว่าในแต่ละรอบการประชุมถัดไป ซึ่งตลาดมองว่าประเด็นดังกล่าวมีแนวโน้มสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง และจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุม FOMC รอบเดือน พ.ค. นี้ ด้านตลาดหุ้นจีนผันผวนหนักจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดในจีนหลังจีนมีการใช้มาตรการ Zero-COVID และประกาศล็อกดาวน์เมืองเศรษฐกิจสำคัญ เช่น เมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองปักกิ่งบางส่วน

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดย IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกในปี 2022 ลง 0.8% นำโดยประเทศในกลุ่มยูโรโซนและประเทศกำลังพัฒนาเนื่องด้วยผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมไปถึงการล็อกดาวน์ในจีนที่ใช้มาตรการ Zero-COVID

สำหรับปัจจัยสำคัญที่น่าสนใจในเดือนนี้ เรามองว่าตลาดการเงินได้มีการสะท้อนความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ นโยบายการเงินที่เข้มงวด ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว และมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีเศรษฐกิจจริง โดยแบ่งเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading Indicators) และดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Indicators)
ที่บ่งบอกถึงภาวะความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นและภาวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะพบว่ายังมีความแข็งแกร่งในภาพรวม แต่เริ่มมีดัชนีย่อยบางตัวที่เริ่มอ่อนแรงลง บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจยังแข็งแกร่งและยังห่างจากคำว่าสภาวะถดถอยอย่างมาก แต่ยังต้องจับตาดูเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องซึ่งจะเป็นผลกดดันในระยะถัดไป ขณะที่มุมของการลงทุนโดยเฉพาะในหุ้นยังต้องใช้ความระมัดระวังโดยถูกกดดันจาก Sentiment ในตลาด ซึ่งเรามองว่าความอึมครึมนี้จะปกคลุมตลาดหุ้นและทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสผันผวนแรงไปทั้งไตรมาส 2

ประเด็นถัดมาคือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและการปรับลดขนาดงบดุลของ Fed เริ่มสะท้อนไปในอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพอสมควร โดยล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี มีการปรับตัวขึ้นไปแตะระดับใกล้เคียง 3% แล้ว ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มสูงกว่าการคาดการณ์เฉลี่ยของตลาด และใกล้เคียงกับจุดสูงสุดเดิมในช่วงปี 2018 แถวระดับประมาณ 3.25% โดยเรามองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากขึ้นและปัจจัยกดดันเริ่มลดน้อยลง เป็นโอกาสสำหรับการแบ่งทยอยเข้าลงทุนในกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ ระยะยาวเพื่อสะสมอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่ยังหลีกเลี่ยงกองทุนที่ลงทุนใน
ตราสารหนี้เอกชนเป็นสัดส่วนใหญ่ เนื่องจาก Credit Spread ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นได้อีกจากความกังวลด้านเศรษฐกิจชะลอตัวในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตามการทยอยสะสมกองทุนตราสารหนี้ยังคงต้องทำอย่างระมัดระวังจากความเสี่ยงที่อัตราผลตอบแทนสหรัฐฯ ยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อได้ตามภาวะเงินเฟ้อและนโยบายการขึ้นดอกเบี้ย

สำหรับมุมมองของเราในเดือนนี้ เราแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นจากแรงกดดันด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยยังแนะนำเน้นการลงทุนในหุ้นโลกกลุ่มที่มี Valuation ถูกและอยู่ในกลุ่ม Defensive และ Value รวมทั้งยังให้ระมัดระวังการลงทุนในหุ้นยุโรปและรัสเซียจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่แน่นอน ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้เริ่มน่าสนใจมากขึ้นหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นมาใกล้ระดับ 3% โดยแนะนำทยอยแบ่งสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีพันธบัตรสหรัฐฯ ระยะยาวอย่างระมัดระวัง ด้าน REITs ฝั่งเอเชียในภาพรวมมีความน่าสนใจจากธีมการเปิดประเทศที่เพิ่มขึ้น และเป็นทางเลือกการกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจ โดยเรายังมองว่าการกระจายน้ำหนักการลงทุนอย่างเหมาะสมจะช่วยสร้างความสมดุลให้กับพอร์ตมากขึ้นในช่วงที่ตลาดยังคงผันผวน

  • SHARE
Contact
Contact