Path to Normalization

เข้าสู่ช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 ของปีกันแล้ว เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแต่หลายประเทศเริ่มมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยการระบาดระลอกใหม่ยังกดดันเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ทำให้หลายประเทศทยอยเร่งฉีดวัคซีนและเริ่มอนุมัติฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ทั้งนี้หุ้นโลกปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยมีตลาดหุ้นอินเดียที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นจีนและหุ้นตลาดเกิดใหม่ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องหลังได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดระเบียบภาคธุรกิจจีนโดยรัฐบาล ด้านสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงนำโดยราคาน้ำมันจากความกังวลด้านการระบาดทั่วโลกและสหรัฐฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC และพันธมิตรเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ด้านทองคำได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ขณะที่ REITs ไทยฟื้นตัวได้โดดเด่นตอบรับความคาดหวังต่อการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

INDEGO Monthly Outlook September 2021
Full PDF version

เข้าสู่ช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 ของปีกันแล้ว เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแต่หลายประเทศเริ่มมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยการระบาดระลอกใหม่ยังกดดันเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ทำให้หลายประเทศทยอยเร่งฉีดวัคซีนและเริ่มอนุมัติฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ทั้งนี้หุ้นโลกปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยมีตลาดหุ้นอินเดียที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นจีนและหุ้นตลาดเกิดใหม่ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องหลังได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดระเบียบภาคธุรกิจจีนโดยรัฐบาล ด้านสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงนำโดยราคาน้ำมันจากความกังวลด้านการระบาดทั่วโลกและสหรัฐฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC และพันธมิตรเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ด้านทองคำได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ขณะที่ REITs ไทยฟื้นตัวได้โดดเด่นตอบรับความคาดหวังต่อการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณในการเตรียมลดวงเงินการทำ QE ผ่านรายงานการประชุม FOMC รอบเดือน ก.ค. และการแถลงมุมมองของประธาน Fed ในงานประชุม Jackson Hole ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาระบุว่าจะมีการลดวงขนาดวงเงิน QE ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตามประธาน Fed ยังคงย้ำว่าจะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเรามองว่าจะในระยะสั้นตลาดมีแนวโน้มที่จะผันผวนน้อยลงตอบรับการแถลงการณ์ของ Fed ที่เป็นไปตามที่คาด ขณะที่ปัจจัยที่เคยกดดันยังได้มีการสะท้อนเข้าไปในราคาตลาดหุ้นแล้วระดับหนึ่งโดยเฉพาะกลุ่มหุ้นขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามประเด็นการปรับลดปริมาณการซื้อสินทรัพย์ของ Fed ในแต่ละเดือน ที่ยังไม่ได้ถูกระบุไว้ในการประชุมครั้งนี้ยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องติดตามต่อในระยะกลาง

สำหรับประเด็นสำคัญของเดือนนี้ คือ นอกเหนือไปจากแนวโน้มการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed แล้ว ทาง IMF ได้มีการคงการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2021 ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 6.0% นำโดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งได้รับการปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตจากเดิมอยู่ที่ 5.1% มาอยู่ที่ 5.6% นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปลายปีนี้ ส่งผลให้เรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ และโลกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวตามฝั่งสหรัฐฯ เช่นกัน ทำให้เรามองว่าหุ้นญี่ปุ่นที่ยังมีการฟื้นตัวได้ช้าและมีระดับมูลค่าที่ไม่แพงมีความน่าสนใจมากขึ้น ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะทางฝั่งของเอเชียถูกปรับประมาณการลงจากเดิม 8.6% มาอยู่ที่ 7.5% เนื่องด้วยปัญหาการแพร่ระบาดระลอกใหม่ รวมถึงการชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐในจีน

ด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมายังคงมีการเติบโตที่ดี โดยในด้านรายได้ ตลาดหุ้นอินเดีย (NIFTY) เวียดนาม (VNIndex) และสหรัฐฯ (NASDAQ) ขยายตัวมากสุดในระดับเกินกว่า 30% (YoY) ขณะที่ในด้านผลกำไร ตลาดหุ้นยุโรป ญี่ปุ่น และอินเดียมีการเติบโตที่โดดเด่นในระดับเกินกว่า 100% (YoY) โดยตลาดหุ้นพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีผลประกอบการออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์

ด้านประเด็นการออกนโยบายควบคุมภาคธุรกิจและสังคมของจีน ยังคงเป็นประเด็นที่มีความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนออกกฎระเบียบควบคุมธุรกิจหลายหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจกวดวิชาและธุรกิจเทคโนโลยี ซึ่งล่าสุดในวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดกฎระเบียบในการเก็บและป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ย. นี้ นอกจากนี้รัฐบาลจีนได้ย้ำเรื่อง “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศ หลายครั้งในปีนี้ โดยรัฐบาลกล่าวถึงการกำกับดูแลไม่ให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ในประเทศกระจุกอยู่กับคนส่วนน้อยรวมถึงชักจูงให้กลุ่มเศรษฐีตอบแทนสังคมมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นจะสร้างแรงกดต่อกลุ่มเทคโนโลยีเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลผู้ใช้งานจำนวนมากและเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่เศรษฐีชาวจีนจำนวนมากเช่นกัน ส่งผลให้เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่อหุ้นจีน โดยในระยะสั้นจะยังคงมีความผันผวนต่อไปจนกว่าทางรัฐบาลจะเริ่มหยุดออกมาตรการเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามในมุมของระดับ valuation ของหุ้นจีนที่ปรับตัวลดลงมาก็ดูมีน่าสนใจมากขึ้นสำหรับการทยอยลงทุนระยะยาว

     สำหรับมุมมองในเดือนนี้ เราแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโลกที่มีปัจจัยสนับสนุนนำโดยนโยบายการคลังของสหรัฐฯ และเป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่มีความทนทานต่อสภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นขนาดเล็กเพื่อรับประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่การควบคุมบริษัทของจีนในหลากหลายอุตสาหกรรมยังมีความไม่แน่นอนสูง สำหรับมุมมองระยะกลางถึงยาวยังแนะนำให้กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการเติบโตเชิงโครงสร้าง ได้แก่ หุ้นโลก หุ้นจีน หุ้นเวียดนาม หุ้นตลาดเกิดใหม่ และธีมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เช่น REITs หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นยุโรป

  • SHARE
Contact
Contact