The Changing World Partners

🔹 เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความกังวลที่ Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงไว้ยาวนานกว่าคาด ขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแรงหลังจากทางรัสเซียและซาอุดีอาระเบียขยายระยะเวลาในการลดกำลังการผลิตน้ำมันไปจนถึงสิ้นปีนี้

INDEGO Market Outlook October 2023

INDEGO Market Outlook
October 2023
“The Changing World Partners”

🔹 เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความกังวลที่ Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงไว้ยาวนานกว่าคาด ขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแรงหลังจากทางรัสเซียและซาอุดีอาระเบียขยายระยะเวลาในการลดกำลังการผลิตน้ำมันไปจนถึงสิ้นปีนี้

🔹 ด้านผลการประชุม FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ตามตลาดคาดการณ์ พร้อมคงนโยบาย QT ต่อไป อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ Fed มีมุมมองต่อแผนการขึ้นดอกเบี้ยผ่าน Dot Plot ว่ามีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (terminal rate) และมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดคาด โดยในปี 2024 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 5.1% (5.00-5.25%)

🔹 ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงอัตราอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.10% และยังคงกรอบนโยบายการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ไว้ที่ระดับเพดาน 1.0% ดังเดิม โดยเรามอง BOJ มีแนวโน้มดำเนินนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้นตามเงินเฟ้อและการปรับขึ้นค่าแรง แต่จะดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

🔹 ด้านธนาคารกลางจีน (PBoC) ตัดสินใจปรับลดอัตราส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยปรับลดอีก 0.25% ทำให้ RRR เฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 7.4% และยังคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปี และ 5 ปี ที่ 3.45% และ 4.20% ตามลำดับ

🔹 สำหรับประเด็นที่น่าสนใจท่ามกลางความขัดแย้งของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ก็คือการที่ 2 ประเทศลดการพึ่งพากันส่งผลให้มีหลายประเทศที่ได้รับประโยชน์จากทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดย “อินเดีย และ เวียดนาม” เป็น 2 ประเทศที่โดดเด่นมากจากในมุมที่สหรัฐฯ มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยัง 2 ประเทศนี้มากขึ้น ประกอบกับสหรัฐฯ ยังนำเข้าสินค้าจาก 2 ประเทศนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่จีนได้มีการนำเข้าสินค้าจาก รัสเซีย มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะแร่ธาตุ ทรัพยการธรรมชาติ และน้ำมัน นอกจากนี้ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายการย้ายฐานการผลิตตามกลยุทธ์ Nearshoring ของสหรัฐฯ ก็คือกลุ่มประเทศ LATAM อย่างบราซิลและเม็กซิโก ซึ่งมีการเติบโตของการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐที่โดดเด่น สอดคล้องกับตัวเลขการลงทุนทางตรง (FDI) จากสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

🔹 เมื่อพิจารณาผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของตลาดหุ้นจีนพบว่ามีผลประกอบการที่อ่อนแอต่ำกว่าคาด โดยหุ้นจีนในดัชนี CSI300 มีรายได้เติบโตเพียงเล็กน้อย และกำไรมีการหดตัวลง 4% (YoY) นำโดยกลุ่มพลังงานและวัสดุ ขณะที่กลุ่มยานยนต์และท่องเที่ยวยังเติบโตได้ดี ด้านหุ้นจีนในดัชนี MSCI China 10/40 มีรายได้และกำไรเติบโตเล็กน้อย นำโดยกลุ่ม E-Commerce ที่ยังเติบโตได้ดี ด้านตลาดหุ้นเวียดนามมีรายได้เติบโตราว 6.73% (YoY) แต่กำไรหดตัวราว 3.98% (YoY)

🔹 ในส่วนของประเทศเวียดนามได้มีการทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership) กับสหรัฐฯ ในช่วงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ มีต่อเวียดนาม ในแง่ฐานการผลิต โดยข้อตกลงดังกล่าว จะมีการร่วมมือในการตั้งโรงงานผลิตและประกอบ Semiconductor มูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเวียดนาม การร่วมมือในการผลิตและแบ่งปันนวัตกรรมด้าน AI ระหว่างบริษัทเทคโนโลยีในเวียดนามกับสหรัฐฯ และการที่สหรัฐฯ จะลดภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ อาหารทะเล และเคมีภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นกว่า 1 ใน 3 ของสินค้าส่งออกของเวียดนาม โดยสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าสินค้าอันดับ 1 ของเวียดนาม นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มากที่สุดในภูมิภาคอีกด้วย โดยเรามองว่าเวียดนามจะยังเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากความขัดแย้งของสหรัฐฯ และจีน และมีการเติบโตในระยะยาวที่โดดเด่น

🔹 ด้านตราสารหนี้โลกยังถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากท่าทีของ Fed ที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามมุมมองของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และตลาดเริ่มสอดคล้องกันว่าใกล้สิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว เช่นเดียวกับความคาดหวังด้านเงินเฟ้อของนักลงทุนที่เริ่มทรงตัว โดยเรามองว่าตราสารหนี้โลกยังคงมีความน่าสนใจจากอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงในรอบทศวรรษ ขณะที่ตราสารหนี้ไทยก็มีความน่าสนใจมากขึ้นเช่นกันหลัง กนง. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 2.50%

🔹 สำหรับมุมมองของเราในเดือนนี้ เรายังคงมุมมองคำแนะนำผ่านการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมในหลายประเภทสินทรัพย์ และหลากหลายภูมิภาค โดยแนะนำสะสมหุ้นไทยเพิ่มจากความชัดเจนทางการเมือง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ และภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในไตรมาสที่ 4 ทยอยสะสมหุ้นอินโดนีเซียที่ยัง Laggard และรอจังหวะในการสะสมหุ้นสหรัฐฯ ที่มีผลประกอบการแข็งแกร่งเพิ่มเติมเมื่อมีการย่อตัว รวมถึงรอจังหวะสะสมหุ้นอินเดียและเวียดนามที่ยังมีการเติบโตที่โดดเด่นเมื่อย่อตัว ขณะที่ตราสารหนี้ยังแนะนำทยอยสะสมต่อไปจากระดับอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงแล้ว

INDEGO
Independence for Global Opportunities

#ยืนหนึ่งเรื่องกองทุนต้อง INDEGO
#รู้ลึกรู้จริง วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
#ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางที่สุด

✅ สำหรับผู้สนใจลงทุนผ่านบริการของ INDEGO สามารถติดต่อลงทุนและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
🌐 Website: https://www.indegowealth.com
📧 อีเมล [email protected]
📞 โทร: 02-233-9995
🗓 ทุกวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.

  • SHARE
Contact
Contact