The Roaring Tiger

เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทั่วโลกค่อนข้างที่จะผันผวน โดยเฉพาะตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ที่ในช่วงต้นเดือนปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron และนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักที่เริ่มส่งสัญญาณการผ่อนคลายลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ก่อนที่ตลาดจะเริ่มคลายความกังวลในประเด็นการแพร่ระบาดของ Omicron เนื่องจากความรุนแรงที่น้อยกว่าสายพันธุ์ Delta และในช่วงปลายเดือนตลาดได้รับปัจจัยหนุนจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในหลายภูมิภาคที่เติบโตดีกว่าคาด อีกทั้งยังมีความคาดหวังด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 4/2021 ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จึงหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นตอบรับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ แต่ยังคงมีความกังวลด้านการแพร่ระบาดของ Omicron ภายในประเทศอยู่ ด้านตลาดหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) ยังคงถูกกดดันจากตลาดหุ้นจีนที่ยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาครัฐโดยเฉพาะหุ้นจีน Offshore ขณะที่หุ้นจีน Onshore เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่ตลาดเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตสภาพคล่องในภาคอสังหาฯ แต่ยังถูกกดันจากการปรับประมาณการกำไรลดลง ด้านตลาดหุ้นเกิดใหม่ฝั่งเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นไทย ยังคงแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้น EM โดยรวมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย ด้านตราสารหนี้โลกยังได้รับผลกระทบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เร่งตัวสูงขึ้นจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักที่เริ่มผ่อนคลายลดลง ขณะที่ REITs โลกปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่จากการที่นานาประเทศยังคงไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์ และยังได้รับอานิสงส์จากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นนำตลาดจากการที่ OPEC+ คงอัตราการเพิ่มกำลังการผลิต

INDEGO Monthly Outlook January 2022

  เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทั่วโลกค่อนข้างที่จะผันผวน โดยเฉพาะตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ที่ในช่วงต้นเดือนปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron และนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักที่เริ่มส่งสัญญาณการผ่อนคลายลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ก่อนที่ตลาดจะเริ่มคลายความกังวลในประเด็นการแพร่ระบาดของ Omicron เนื่องจากความรุนแรงที่น้อยกว่าสายพันธุ์ Delta และในช่วงปลายเดือนตลาดได้รับปัจจัยหนุนจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในหลายภูมิภาคที่เติบโตดีกว่าคาด อีกทั้งยังมีความคาดหวังด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 4/2021 ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จึงหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นตอบรับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ แต่ยังคงมีความกังวลด้านการแพร่ระบาดของ Omicron ภายในประเทศอยู่ ด้านตลาดหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) ยังคงถูกกดดันจากตลาดหุ้นจีนที่ยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาครัฐโดยเฉพาะหุ้นจีน Offshore ขณะที่หุ้นจีน Onshore เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่ตลาดเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตสภาพคล่องในภาคอสังหาฯ แต่ยังถูกกดันจากการปรับประมาณการกำไรลดลง ด้านตลาดหุ้นเกิดใหม่ฝั่งเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นไทย ยังคงแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้น EM โดยรวมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย ด้านตราสารหนี้โลกยังได้รับผลกระทบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เร่งตัวสูงขึ้นจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักที่เริ่มผ่อนคลายลดลง ขณะที่ REITs โลกปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่จากการที่นานาประเทศยังคงไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์ และยังได้รับอานิสงส์จากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นนำตลาดจากการที่ OPEC+ คงอัตราการเพิ่มกำลังการผลิต

สำหรับในเดือนนี้เราได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองของหุ้นไทยจาก Neutral มาเป็น Overweight จากการที่ดัชนี SET Index ได้ปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 1650 จุด เปลี่ยนการวิ่งในกรอบเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงท้ายปีที่ต่อเนื่องไปยังปีถัดไป ประกอบกับนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของ ธปท. และ Earnings Momentum ของหุ้นไทยที่ถูกปรับประมาณการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความคาดหวังการฟื้นตัวของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 4 ปี 2021
อีกทั้งสถิติในอดีตพบว่าหุ้นไทยสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 1 ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นไทยยังคงมีความเสี่ยงด้านการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ซึ่งอาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและหุ้นกลุ่มเปิดเมืองอีกครั้ง ประกอบกับความเสี่ยงที่จะมีโอกาสถูกแรงขายทำกำไรในกองทุน LTF ที่ครบกำหนดระยะเวลา 7 ปี รวมถึงความเสี่ยงด้านการเมืองไทย และความเสี่ยงจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed

นอกจากนี้จีนที่ภาคเศรษฐกิจที่ถูกกดดันมาตลอดปี 2021 จนทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่สำคัญเติบโตเฉลี่ยลดลงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังในช่วง 5 ปี จนทำให้รัฐบาลกลางและธนาคารกลางเริ่มไม่นิ่งเฉย และเริ่มส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย PBoC ได้ปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ลง 0.5% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอายุ 1 ปีลง 0.05% ดังนั้นเราจึงมองว่าจีนจะยังเป็นประเทศที่มีทิศทางดีขึ้นในปี 2022 โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งการใช้นโยบายการเงินและการคลังเชิงผ่อนคลายที่มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ที่เริ่มส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินและการคลังเชิงผ่อนคลายที่ลดลง

  มุมมองของเราในเดือนนี้ เราได้แนะนำให้สับเปลี่ยนการกองทุนหุ้นไทยกลุ่มเปิดเมืองไปยังกองทุนหุ้นไทยแบบ Active ที่เน้นการคัดเลือกหุ้นรายตัว (Selective) เพื่อรับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ Earnings Momentum ของตลาดหุ้นไทยที่ยังแข็งแกร่ง พร้อมทั้งสับเปลี่ยนกองทุนหุ้นจีนผสมไปยังกองทุนหุ้นจีน A-Share ที่ยัง Laggard และมีความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่น้อยกว่ากองทุนหุ้นจีนผสม นอกจากนี้เรายังคงคำแนะนำให้ลงทุนในกองทุนหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวและเงินเฟ้อที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งกองทุนหุ้นญี่ปุ่นขนาดเล็กที่ยังได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านธีมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเรายังแนะนำให้สะสม REITs ไทยและสิงคโปร์ที่ระดับราคายังคง
น่าสนใจ ด้านมุมมองระยะกลางถึงยาวยังแนะนำให้กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการเติบโตเชิงโครงสร้าง ได้แก่ กองทุนหุ้นโลก กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ กองทุนหุ้นจีน และกองทุนหุ้นเวียดนาม

  • SHARE
Contact
Contact